ปัจจุบันมีการใช้จักรยานฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear ในท้องถนนเป็นจำนวนมาก เพราะมี รูปทรง ที่ทันสมัยอุปกรณ์ไม่เยอะและสามารถเก็บรักษาได้ง่าย ถ้าคุณต้องการจักรยานฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear สักคันลองมาดูกันนะครับว่าจะมีวิธีการเลือกจักรยานฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear อย่างไร อันดับแรกคุณจะต้องตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ก่อนว่าคุณมีงบประมาณเท่าไหร่ ? วัตถุประสงค์ในการใช้จักรยาน ชอบแนวไหน ชอบรถทันสมัย หรือแฟชั่น street เนื่องจากมีเกียร์เดียวคุณจะปั่นไปทำงาน ปั่นไปเที่ยว เล่นท่า หรือขับขี่ชอบความเก่าคลาสสิค วินเทจ สไตล์หมอบ เมื่อรู้ว่าตัวเองชอบแบบไหน ก็ตัดสินใจต่อได้ว่าจะประกอบรถตนเองแนวไหน ซึ่งถ้าเลือกใช้อะไหล่ที่ผลิตมาสำหรับรถลู่ หรือ Fixed Gearซึ่งแน่นอนว่าอะไหล่จะถูกใจผู้ขับขี่ทุกชิ้น แต่งบประมาณก็สูงทีเดียวนะครับ ผมมีวิธีการเลือกง่าย ๆ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าตนเองเหมาะกับสไตล์ไหน ผมขอแนะนำว่าควรซื้อรถ Complete สักคันมาลองปั่นก่อน Fuji Classic เป็นอีกทางเลือกหนี่งที่ราคาไม่สูง ปั่นได้สบาย ถ้าจะเล่นทริคก็สามารถแต่งต่อได้ แต่สำหรับมืออาชีพสามารถเลือกได้ตามสไตล์ของตัวเองและเลือกปรับแต่งรถให้เข้ากับการใช้งานและงบประมาณของตนเอง สำหรับการแต่งรถจักรยานฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear ให้โดยใจไม่ยากอย่างงที่คิดเลยครับ วิธีง่าย ๆ โดยการเลือกเปลี่ยนชิ้นส่วนบางชิ้น เช่น ตะเกียบ แฮนด์ ล้อ จาน ซึ่งแนวทริกทั่วไปจะใช้แฮนด์ยก กว้าง น้ำหนักเบา แข็งแรง ใส่ล้อขอบสูง หน้าล้อกว้าง เพื่อให้ใส่ยางใหญ่รับน้ำหนักแรงกระแทกจากการกระโดด ใส่จานหน้าเล็ก ใหม่ได้ไม่เกิน 42 T ใส่ cog(สเตอร์) 19T ให้เบาขึ้นเพื่อให้เล่นท่าง่าย บันได BMX เนื้อพลาสติกชั้นดี มีรูสำหรรับร้อยสาย Foot Strap (สายรัดเท้า) ใส่เพื่อเบรกและให้กระชับเท้า เอาไว้เล่นท่าต่าง ๆ หากต้องการรถสวยผมขอแนะนำ Fuji Feather ที่มาพร้อมกับความสวยงามเพราะทาง Fuji เขาได้แต่งมาเพื่อให้เข้ากับสไตล์ที่คุณต้องการแน่นอน แต่ถ้าอยากปรับแต่งเพิ่มเติม ก็อาจจะเปลี่ยนสี หรืออาจจะเลือกใช้ยางและล้อที่มีสีสันสวยงามเพื่อให้แมทซ์กับเบาะ แฮนด์ตะกร้อ ก็ได้ครับ แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งการแต่งรถก็จะเป็นไปตามความนิยมของแต่ละคนช่วงนั้น ๆ อย่าง TREND ปีที่แล้วก็จะเน้นแฮนด์สั้น ยางสี และรถที่มีสีสันฉูดฉาดปีนี้ TREND เราจะแต่งให้เล่นทริคได้มากขึ้น การแต่งรถจะเป็นแฮนด์กว้าง ยางใหญ่ Frame ดำด้าน Frame เปลือยกำลังมาแรง การเลือกหาตะเกียบก็ขึ้นอยู่กับทรงของรถว่าเป็นทรงไหน ตะเกียบตรงแบบ BMX ขนาด 410 มม. เหมาะสำหรับล้อ 700 C ใส่แล้วบาร์สปินได้ แต่ถ้าใช้ล้อ ขนาด 26 หรือ 650 C แนะนำให้ใช้ตะเกียบ 420+ มม. เพื่อให้รถระดับขนานกับพื้น การแต่งรถ Fixed Gear ส่วนใหญ่อะไหล่สามารถสลับสับเปลี่ยนกันได้ครับ
การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
การเลือกขนาดของตัวถังที่เราจะนำมาใช้งาน ซึ่งการที่เราเลือกขนาดรถได้เหมาะสมกับร่างกายจะทำให้เราใช้งานรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสาย Tick และสายปั่น สิ่งแรกที่เราจะต้องรู้ก่อนทำการเลือกขนาดของตัวถังที่จะนำมาขี่ ก็คือความยาวช่วงขา ซึ่งช่วงขาแป็นตัวแปรหลักในการเลือกขนาดรถมาใช้งาน เพราะว่ารถแต่ละขนาดก็จะออกแบบมาสำหรับคนที่มีช่วงขาไม่เท่ากันการวัดความยาวช่วงขาเป็นการวัดความยาวจากพื้นถึงหว่างขาเมื่อเรายืนตรงซึ่งคำนี่จะถูกนำไปใช้ในการพิจารณาเลือกขนาดของรถ อีกส่วนหนึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกขนาดของรถอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่า Stand Over ของรถ [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
Stand Over คือค่าที่ใช้วัดระยะความสูงของท่อบนรถเทียบกับพื้น ซึ่งค่ำนี้จะใช้ประกอบเปรียบเทียบกับค่าความยาวช่วงขา กล่าวคือหาค่าความยาวช่วงขามากกว่า Stand Over จะทำให้สามารถยืนให้หว่างขาคร่อมท่อบนได้แต่ถ้าหากความยาวหว่างขาน้อยกว่า Stand Over จะทำให้ไม่สามารถยืนคร่อมท่อบนได้ ทำให้หว่างขาพาดอยู่กับท่อบน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ต้องตะแคงรถทิ้งน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่งที่เหยียบพื้นก่อน แล้วใช้ขาข้างที่เหลือเหยียบบันไดไว้
เมื่อเราได้ทราบค่าความยาวช่วงขาแล้ว เราก็นำค่าที่เราวัดได้ไปเทียบกับตารางเทียบขนาดของผู้ผลิต หากไม่มีตารางเปรียบเทียบขนาดของผู้ผลิต ว่าช่วงขาเท่าไหน ควรจะขี่รถขนาดเท่าไร หรือหากไม่มีตารางเปรียบเทียบก็ใช้การกะขนาดเอาขนาดของตัวถังจะมีการบอกตามค่าความยาวของท่อนั่ง ซึ่งใช้หน่วยวัดความยาวสองมาตรฐานคือการวัดด้วยหน่วยเซนติเมตร (นิยมใช้ในจักรยานเสือหมอบ) และการวัดเป็นนิ้ว (นิยมใช้ในจักรยานเสือภูเขา) และมาตรฐานการวัดความยาวของตัวถังยังมีมาตรฐานการวัดอยู่สองแบบ คือการวัดแบบ Center to Center (C-C)เป็นการวัดความยาวจากจุดศูนย์กลางกะโหลกถึงจุดศูนย์กลางของจุดเชื่อมของท่อนั่งกับท่อบนและการวัดแบบCenterTo top (C-T) เป็นการวัดความยาวของท่อนั่งจากจุดศูนย์กลางกะโหลกไปยังปากของท่อนั่งที่จะใส่หลักอาน
การเลือกเฟรมมาใช้งานสำหรับชาวฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear) ต้องคำนึงถึงขนาดตัวถังแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ประเภทของการใช้งานหากเป็นสายปั่นควรเลือกตัวถังให้พอดีตัวหรือเล็กกว่าเล็กน้อย โดยให้ท่อบนของรถอยู่ต่ำกว่าหว่างขาประมาณ 1-2 นิ้ว หากเป็นสาย Tick ก็ให้ใช้ตัวถังที่ท่อบนอยู่ต่ำกว่าหว่างขามากกว่า เพื่อความสะดวกในการลงรถฉุกเฉิน เพราะการขี่สาย Tick นั้นอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่ายหากเลือกรถที่มีท่อบนต่ำกว่าหว่างขามากกว่า 2 นิ้วจะช่วยให้ลดการโดยท่อบนกระแทกหว่างขา[ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
เสร็จจากการเลือกขนาดรถแล้วก็ให้ปรับความสูงของเบาะให้เหมาะสมตามความถนัดโดยการปรับความสูงของหลักอาน เรื่องต่อไปที่ผู้ขี่ต้องพิจารณาอีกเรื่องก็คือการปรับมุมการก้มขี่ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วร่างกายคนเราจะมีความแตกต่างกัน บางคนช่วงขาสั้นแต่กระดูกสันหลังยาว บางคนก็อาจจะช่วงขายาวแต่กระดูกสันหลังสั้น ซึ่งการปรับมุมก้มของหลังจะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 3 ตัวคือ หนึ่งความยาวท่อบนของตัวถัง สองความยาวและความสูงของคอแฮนด์ สามคือชนิดและความกว้างของแฮนด์ที่ใช้ ซึ่งผู้ที่จะต้องเลือกใช้และปรับแต่งตามความเหมาะสมของตัวเอง [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
สำหรับสายปั่นอาจหาคอแฮนด์ที่มีความยาวและใช้แฮนด์เสือหมอบที่ต้องก้มหลังมากมาใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการขี่ ส่วนในสาย Tick ก็อาจจะให้คอแฮนด์ขนาดสั้นติดตั้งอยู่สูงจากตัวรถโดยดการใช้แหวนรองคอหลาย ๆ ตัวแล้วใช้แฮนด์ตรง ก็จะช่วยให้ตำแหน่งจับแฮนด์จะอยู่สูงทำให้ง่ายในการเล่นท่า หรืออาจจะติดตั้งคอแฮนด์ต่ำ ๆ แต่นำแฮนด์ยกสูงมาใช้ก็จะช่วยให้ตำแหน่งจับแฮนด์ ทำให้การเล่นท่าทำได้ง่าย
เทรนด์ Fixed Gear ลุกลามสู่ Mass
“กลุ่มคนที่เล่น Fixed Gear ช่วงแรกคือคนที่ทำงานแล้ว เป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว แต่ตอนนี้ตลาดเริ่มขยายตัวขึ้น เริ่มเข้ไปสู่ตลาดนักศึกษา และล่าสุดลงมาถึงระดับมัธยมแล้ว” แนวโน้มการเติบโตของรถ Fixed Gear การที่มีนักศึกษา และนักเรียนเข้ามาสนใจ น่าจะเป็นการได้เห็น และการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้เดิม รวมถึงความแปลกที่ไม่เหมือนกับจักรยานอื่นๆ ความมีสีสัน ไม่ซ้ำซาก และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เมื่อตลาดเริ่มลงมาที่ตลาด Mass มากขึ้น จำนวนผู้ขายรถ Fixed Gear ก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ก็คงเช่นเดียวกับตลาดรถจักรยานพับที่แคยประสบมา การมีผู้จำหน่ายมากขึ้นสิ่งที่ตามมาก็คือ ราคาก็เริ่มมีการปรับลดลง เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ซึ่งมีกำลังซื้อน้อยกว่าผู้ใช้กลุ่มแรก เพราะกำลังศึกษาอยู่ จึงมีสินค้าราคาถูกออกมาจำหน่าย จึงมองเห็นแนวโน้มการเติบโตของตลาด Mass ซึ่งเจาก็รับมือกระแสที่บูมด้วยการมีสินค้าราคาต่ำออกมาเปรียบเหมือน Fighting Brand มาสนองความต้องการของลูกค้าเช่นกัน Infinity คือ Brand จากประเทศไต้หวันที่ส่งรถประกอบเสร็จทั้งคันมาจำหน่าย ตี๊ติดต่อรับมาขายเป็นอีก Brand หนึ่งของร้าน ตั้งราคาขายที่ไม่เกิน 9,000 บาท เพื่อให้เป็นจักรยานขวัญใจนักเรียน และผู้ที่ต้องการเริ่มต้นกับจักรยาน Fixed Gear ลูกค้าที่เพิ่งเริ่มต้น ให้ความสนใจกับ Brand นี้ไม่น้อยทีเดียว เพราะปัจจัยเรื่องราคา และการการันตีจากผู้ชำนาญ ทำให้ Infinity มียอดขายที่น่าพอใจ ด้วยความที่ลูกค้าเริ่มเด็กลง และมองเห็นปัญหาในเรื่องการขับขี่ และความปลอดภัยของผู้ใช้ เพราะ Fixed Gear สายพันธุ์แท้ เป็นจักรยานที่ไม่มีเบรก ต้องอาศัยความชำนาญ และทักษะในการขี่
“ผมมองความปลอดภัยของผู้ใช้ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีพื้นฐาน ผมเลยเพิ่มเบรกหน้าและหลังเขาไปในรถ Fixed Gear โดยบอกกับผู้ใช้มือใหม่ว่า ให้เน้นเรื่องปลอดภัยก่อน เมื่อขี่แข็ง เข้าใจการใช้งานแล้ว ค่อยมาเอาเบรกออก”
การติดเบรกให้กับ Fixed Gear แบบนี้ หลายๆ คนถึงกับบอกว่า จะเรียก Fixed Gear ได้อย่างไร ของแท้ต้องไม่มีเบรก ความจำเป็นอีกด้านหนึ่งก็คือ เมื่อมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักเรียน ผู้ปกครองก็ต้องการให้ลูกปลอดภัย ตี้จึงต้องแก้ไขให้สินค้าตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ให้ได้ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้คือฐานใหญ่ และสามารถเติบโตไปกับ Fixed Gear ได้
ปั่นฟิกเกียร์กับสาวๆ
เสน่ห์ของฟิกเกียร์ยังเป็นที่ถูกใจสาวๆ กลุ่มเลดี้ฟิกเกียร์ (Lady fixedgear) ซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมดที่ชื่นชอบการปั่นจักรยานฟิกเกียร์ และหนึ่งในนั้นก็คือ ซีน-ณัฐธิดา สว่างพล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่าเราเป็นผู้หญิงกลุ่มแรกๆ ที่ปั่นจักรยานประเภทนี้และใช้ชื่อว่าเลดี้ฟิกเกียร์ (Lady fixedgear) มีประมาณ 5-6 คน ส่วนใหญ่ทุกคนอาศัยอยู่ในกรุงเทพ เผอิญบ้านซีนอยู่แถวมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ก็เลยชวนเพื่อนๆ ปั่นฟิกเกียร์อยู่แถวนั้นเป็นประจำ และนานๆ ทีซีนก็จะปั่นไปลานพระบรมรูปทรงม้า บางทีก็ไปถึงสุขุมวิท ซึ่งจะมีเพื่อนอีกแก๊งหนึ่งที่เป็นผู้ชายมาปั่นด้วยกันเพราะมันดูปลอดภัยกว่า นอกจากการเล่นท่าผาดโผนของจักรยานฟิกเกียร์จะเป็นเทรนด์ฮิตของกลุ่มวัยรุ่นแล้ว แฟชั่นการแต่งรถจักรยานคู่ใจนี้ก็เข้ามาเป็นกระแสนิยมอีกอย่างหนึ่งในการดึงดูดใจวัยรุ่นเช่นกัน “แรกๆ เลยนะตอนที่ซีนเล่นมันยังไม่ฮิต ไม่มีเทรนด์เรื่องแฟชั่น เมื่อ 3 ปีที่แล้วตอนนั้นแทบจะไม่มีคนรู้จักจักรยานฟิกเกียร์เลย มีประมาณไม่ถึง 30 คนเลยด้วยซ้ำที่ปั่นในกรุงเทพฯ แต่ที่เป็นกระแสฮิตของกลุ่มวัยรุ่นเพราะว่าจักรยานฟิกเกียร์สามารถแต่งให้เป็นยังไงก็ได้ พอแต่งแล้วมันสวย คนก็เลยคิดว่ามันเป็นแฟชั่นที่กำลังเข้ามา ตอนนี้สำหรับผู้หญิงที่ปั่นก็มีประมาณ 30 คน แต่ถ้าเอาเฉพาะในกรุงเทพฯก็มี 20 กว่าคนได้” “ซีนคิดว่าเสน่ห์ของมันอยู่ตรงที่ไม่มีเบรก (หัวเราะ) ตอนแรกที่ปั่นซีนยังติดตั้งเบรกอยู่ ประมาณ 1-2 เดือนเราก็เอาเบรกออกเพราะเราเริ่มคุ้นเคยกับมัน อย่างคนที่เริ่มเล่นใหม่ๆ ก็จะแนะนำให้ติดเบรกก่อนให้รู้สึกว่าเราชินกับรถก่อน และสามารถเบรกได้โดยที่ไม่ต้องใช้เบรกแล้วค่อยเอาเบรกออกจะดีที่สุด” สำหรับจักรยานฟิกเกียร์จะมีวิธีเบรกโดยการต้านแรงหมุนของล้อ ซึ่งจะมีสายคล้องเท้าตรงบันไดของจักรยานไว้ต้านแรงขับเคลื่อนของล้อเพื่อชะลอความเร็วลง เนื่องจากฟิกเกียร์เป็นจักรยานที่ฟรีเท้าไม่ได้ จึงเป็นลักษณะเฉพาะที่ต่างจากรถจักรยานทั่วไป “ซีนชอบปั่นจักรยานแบบฟรีเท้าไม่ได้มากกว่านะ เพราะมันสนุกกว่า เราต้องลองปั่นพอปั่นไปเรื่อยๆ เราจะรู้สึกสนุก ความเร็วในการปั่นมันขึ้นอยู่กับการเลือกอะไหล่ ถ้าอะไหล่คุณภาพดีก็จะทำให้ปั่นได้อย่างสบาย ซึ่งเดี๋ยวนี้เฟรมหรือโครงสร้างที่ผลิตในเมืองไทยค่อนข้างถูกประมาณ 5,000-6,000 บาทก็ซื้อได้แล้ว ซึ่งเด็กวัยรุ่นชอบซื้อมาแต่ง แต่คุณภาพมันก็ไม่ดีนัก เพราะส่วนใหญ่เขาแต่งกันเป็นแฟชั่นมากกว่า ถ้าจะให้มีคุณภาพดีขึ้นมาหน่อยก็ราคาประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป”
ฟิกเกียร์มีอะไรมากกว่าแฟชั่น
คนปั่นจักรยานฟิกเกียร์ส่วนหนึ่งมาพร้อมกับเรื่องของแฟชั่น แต่สำหรับคนบางกลุ่มนิยมเล่นฟิกเกียร์โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนอินเทรนด์หรือติดแฟชั่นอะไร เพราะว่ามีหลายคนที่เป็นกลุ่มผู้ใหญ่ แต่กลุ่มวัยรุ่นเยอะกว่าเนื่องจากมีการคอนเน็กชันกับกลุ่มเพื่อนๆ ได้ง่ายกว่า จึงกลายเป็นอีกหนึ่งสังคมของคนรักการปั่นจักรยานฟิกเกียร์ “ฟิกเกียร์เล่นแล้วได้สุขภาพ ได้เพื่อนที่มีไอเดียในการแต่งรถ บางคนได้เฟรมมาอย่างเดียว เขาก็คิดแล้วว่าจะแต่งอย่างไรให้เข้ากับตัวเขา บางคนเขาอยากจะทำสีหรือใส่ล้อสี แฟชั่นการตกแต่งส่วนใหญ่จะเน้นเป็นสีสันมากกว่า แต่ยิ่งแต่งมากสมรรถภาพของรถจักรยานก็เปลี่ยนไป แต่สำหรับผมเองจะพยายามแต่งให้คลาสสิกที่สุด คือการใช้ของเดิมเกือบหมด มีปรับเปลี่ยนแค่แฮนด์รถ และยางล้อเท่านั้น” “ผมมองว่าจักรยานฟิกเกียร์มันเป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่มีความเท่ในตัวของมันเอง และเราได้ออกกำลังกายด้วย บางคนอาจมองว่าฟิกเกียร์เป็นจักรยานที่ใช้เล่นท่า แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เสมอไป อย่างผมปั่นไปชมวิว ชมเมืองมากกว่าที่จะเอามาเล่นท่า” การปั่นจักรยานฟิกเกียร์ทำให้ร่างกายเฟิร์มขึ้นทั้งแขนทั้งขา แต่ถ้าใช้เวลาปั่นนานก็อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังได้ เพราะด้วยลักษณะของแฮนด์ที่ต่ำแต่เบาะนั่งสูง พออยู่ในท่านี้นานจึงทำให้เกิดการปวด ถ้าใครไม่ชอบก็สามารถปรับเปลี่ยนแฮนด์ให้สูงขึ้นและทำเบาะให้ต่ำลงได้เช่นกัน ถ้าใครชอบปั่นจักรยานในเวลากลางคืน ควรติดตั้งระบบไฟที่รถเพื่อความปลอดภัยในเวลาขับขี่ และถ้าขี่จักรยานบนท้องถนนที่มีการจราจรหนาแน่นก็ควรระวังรถมอเตอร์ไซค์ รถแท็กซี่ และรถประจำทาง เนื่องจากถนนบางแห่งไม่มีช่องทางสำหรับรถจักรยานโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องมีไหวพริบในการใช้รถใช้ถนน เมื่อทุกคนพร้อมที่จะออกเดินทางก็เตรียมนัดรวมพลคนรักจักรยานฟิกเกียร์แล้วมาปั่นไปพร้อมกันเลย
“คลาสสิกฟิกเกียร์” รสนิยมราคาแพง
ตอนนี้ราคาจักรยานฟิกเกียร์พอยิ่งฮิตหลายแบรนด์ก็ออกมาทำมากขึ้น ฉะนั้นจะเห็นว่ามีราคาถูกลง เริ่มต้นที่

5,000 บาทก็สามารถหาซื้อได้แล้วแต่คุณภตอนนี้ราคาจักรยานฟิกเกียร์พอยิ่งฮิตหลายแบรนด์ก็ออกมาทำมากขึ้น ฉะนั้นจะเห็นว่ามีราคาถูกลง เริ่มต้นที่ 5,000 บาทก็สามารถหาซื้อได้แล้วแต่คุณภาพไม่ดีนัก ซึ่งบางคันไม่มีติดแบรนด์เลยด้วยซ้ำ หรือถ้าซื้อในราคา 10,000 ก็เพิ่มระดับขึ้นมาหน่อยแต่คุณภาพยังไม่ดีพอ ถ้าจะให้ดีเลยก็ตกคันละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท เมื่อผลิตออกมาเยอะขึ้น สิ่งที่ทำให้ดูแพงจึงเป็นกลุ่มรถจักรยานคลาสสิกซึ่งได้เลิกผลิตแล้ว ทำให้มีราคาสูงขึ้นกว่าจักรยานฟิกเกียร์ที่ผลิตในปัจจุบันนี้มาก ผู้ก่อตั้ง Bkkfixed ได้บอกว่า จักรยานคลาสสิกจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือคลาสสิกของยุโรป และญี่ปุ่น จักรยานฟิกเกียร์ที่เห็นอยู่ในตอนนี้จะเป็นรถใหม่ทั้งหมด แต่สำหรับคนที่ชอบสะสมจักรยานส่วนใหญ่เขาจะเก็บรถเก่าซึ่งเลิกผลิตไปแล้ว บางทีคนทำเฟรมหรือตัวโครงรถนั้นอาจเสียชีวิตไปแล้ว อย่างที่ผมมีก็เป็นของญี่ปุ่น ยี่ห้อนากาซาว่า สำหรับเฟรมนากาซาว่า ผมไม่แน่ใจว่าเขาเลิกผลิตหรือยัง แต่คนทำเขาแก่มากแล้ว คือถ้าจะผลิตต้องใช้เวลาถึง 24 เดือนในการผลิต และค่าผลิตต่อเฟรมอยู่ที่ 2,700 ดอลลาร์สหรัฐ” “ของผมซื้อเฟรมญี่ปุ่นเป็นของคนที่เขาเคยลงแข่งขัน แล้วเขาไม่ได้แข่งแล้ว ซึ่งนากาซาว่าเป็นคนตัดเฟรมรถจักรยานให้นักแข่งซึ่งเป็นแชมป์ถึง 10 ปีซ้อน ฉะนั้นเฟรมของคนนี้ก็จะดังในระดับหนึ่ง” ดังนั้นรถจักรยานในแต่ละคันจะมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเพราะตัวเฟรมแต่ละอันไม่เหมือนกันนั่นเอง อาจจะเรียกได้ว่าจักรยานแฮนด์เมดก็ได้ ถ้าเป็นจักรยานรุ่นเก่าๆ จะเป็นของนักกีฬาที่เขาขายต่อ หรือไม่ก็ตัดเฟรมมาให้เพื่อซ้อมหรือเพื่อลงแข่งจริง ซึ่งรุ่นเก่านี้จะมีเสน่ห์อยู่ตรงที่ข้อต่อ หรือเรียกว่า ลักส์ (Lugz) นั่นเอง ซึ่งเป็นข้อเสียบโดยใช้ความร้อนบีบให้ติดกัน แต่สมัยใหม่นี้ข้อต่อต่างๆ จะใช้การเชื่อมเป็นหลัก “เสน่ห์ของจักรยานรุ่นเก่าจึงอยู่ตรงข้อต่อ ซึ่งข้อต่อของนากาซาว่าก็มีหลายแบรนด์ซื้อไปติดเป็นแบรนด์ของตัวเองแล้วเหมือนกัน และจักรยานหลายแบรนด์ในทุกวันนี้ก็ทำฟิกเกียร์ด้วย แม้กระทั่ง LA Bicycle ก็ทำแล้ว ส่วนใหญ่ก็มีความเหมือนกัน ต่างกันตรงยี่ห้อและสเปกที่ทำขึ้นมาแค่นั้น” สถานที่เลือกซื้อจักรยานฟิกเกียร์ซึ่งปัจจุบันหาง่ายและมีเกือบทุกร้าน สำหรับในกรุงเทพฯ ก็จะเป็นแถววงเวียนใหญ่ ลาดพร้าวโชคชัย 4 สุขุมวิท101/1 บางนา และศรีนครินทร์ เรียกได้ว่าแทบทุกเขตในกรุงเทพมหานครก็เลือกจับจองเป็นเจ้าของกันได้ าพไม่ดีนัก ซึ่งบางคันไม่มีติดแบรนด์เลยด้วยซ้ำ หรือถ้าซื้อในราคา 10,000 ก็เพิ่มระดับขึ้นมาหน่อยแต่คุณภาพยังไม่ดีพอ ถ้าจะให้ดีเลยก็ตกคันละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท เมื่อผลิตออกมาเยอะขึ้น สิ่งที่ทำให้ดูแพงจึงเป็นกลุ่มรถจักรยานคลาสสิกซึ่งได้เลิกผลิตแล้ว ทำให้มีราคาสูงขึ้นกว่าจักรยานฟิกเกียร์ที่ผลิตในปัจจุบันนี้มาก ผู้ก่อตั้ง Bkkfixed ได้บอกว่า จักรยานคลาสสิกจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือคลาสสิกของยุโรป และญี่ปุ่น จักรยานฟิกเกียร์ที่เห็นอยู่ในตอนนี้จะเป็นรถใหม่ทั้งหมด แต่สำหรับคนที่ชอบสะสมจักรยานส่วนใหญ่เขาจะเก็บรถเก่าซึ่งเลิกผลิตไปแล้ว บางทีคนทำเฟรมหรือตัวโครงรถนั้นอาจเสียชีวิตไปแล้ว อย่างที่ผมมีก็เป็นของญี่ปุ่น ยี่ห้อนากาซาว่า สำหรับเฟรมนากาซาว่า ผมไม่แน่ใจว่าเขาเลิกผลิตหรือยัง แต่คนทำเขาแก่มากแล้ว คือถ้าจะผลิตต้องใช้เวลาถึง 24 เดือนในการผลิต และค่าผลิตต่อเฟรมอยู่ที่ 2,700 ดอลลาร์สหรัฐ” “ของผมซื้อเฟรมญี่ปุ่นเป็นของคนที่เขาเคยลงแข่งขัน แล้วเขาไม่ได้แข่งแล้ว ซึ่งนากาซาว่าเป็นคนตัดเฟรมรถจักรยานให้นักแข่งซึ่งเป็นแชมป์ถึง 10 ปีซ้อน ฉะนั้นเฟรมของคนนี้ก็จะดังในระดับหนึ่ง” ดังนั้นรถจักรยานในแต่ละคันจะมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเพราะตัวเฟรมแต่ละอันไม่เหมือนกันนั่นเอง อาจจะเรียกได้ว่าจักรยานแฮนด์เมดก็ได้ ถ้าเป็นจักรยานรุ่นเก่าๆ จะเป็นของนักกีฬาที่เขาขายต่อ หรือไม่ก็ตัดเฟรมมาให้เพื่อซ้อมหรือเพื่อลงแข่งจริง ซึ่งรุ่นเก่านี้จะมีเสน่ห์อยู่ตรงที่ข้อต่อ หรือเรียกว่า ลักส์ (Lugz) นั่นเอง ซึ่งเป็นข้อเสียบโดยใช้ความร้อนบีบให้ติดกัน แต่สมัยใหม่นี้ข้อต่อต่างๆ จะใช้การเชื่อมเป็นหลัก
“เสน่ห์ของจักรยานรุ่นเก่าจึงอยู่ตรงข้อต่อ ซึ่งข้อต่อของนากาซาว่าก็มีหลายแบรนด์ซื้อไปติดเป็นแบรนด์ของตัวเองแล้วเหมือนกัน และจักรยานหลายแบรนด์ในทุกวันนี้ก็ทำฟิกเกียร์ด้วย แม้กระทั่ง LA Bicycle ก็ทำแล้ว ส่วนใหญ่ก็มีความเหมือนกัน ต่างกันตรงยี่ห้อและสเปกที่ทำขึ้นมาแค่นั้น” สถานที่เลือกซื้อจักรยานฟิกเกียร์ซึ่งปัจจุบันหาง่ายและมีเกือบทุกร้าน สำหรับในกรุงเทพฯ ก็จะเป็นแถววงเวียนใหญ่ ลาดพร้าวโชคชัย 4 สุขุมวิท101/1 บางนา และศรีนครินทร์ เรียกได้ว่าแทบทุกเขตในกรุงเทพมหานครก็เลือกจับจองเป็นเจ้าของกันได้
กระแสนิยมฟิกเกียร์มาแรง
ความนิยมของจักรยานฟิกเกียร์ได้ไต่ระดับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวนผู้เล่นก็มีหลายกลุ่มด้วยกัน ส่วนร้านค้าที่ขายจักรยานฟิกเกียร์นั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นดอกเห็ดกว่า 50ร้าน ถ้าคิดกระแสความนิยมฟิกเกียร์ในเอเชียแล้วประเทศไทยรองญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียวเท่านั้นเอง จากเดิมสำหรับการปั่นฟิกเกียร์นั้น ส่วนใหญ่คนที่ชอบการปั่นจักรยานลักษณะนี้จะเน้นความสนุกสนาน สบายๆ แบบชิลๆ และเป็นกันเอง แต่ตอนนี้ฟิกเกียร์ได้แบ่งออกเป็นอีกสายหนึ่ง เรียกว่าสายทริก คือได้เอาฟิกเกียร์ไปเปลี่ยนเป็นล้อเล็ก หรือเปลี่ยนเป็นล้อยางขนาดใหญ่ มีหน้ายางกว้างขึ้นและสร้างโครงรถขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายบีเอ็มเอ็กซ์คันใหญ่ แล้วมีการเล่นท่าต่างๆ นานาเหมือนบีเอ็มเอ็กซ์ จึงทำให้เสน่ห์ของฟิกเกียร์หายไปแต่ยังคงลักษณะเฉพาะคือการฟรีเท้าไม่ได้เหมือนเดิม “เสน่ห์ของฟิกเกียร์เป็นการปั่นไปตามที่ต่างๆ เพื่อออกกำลังกายแบบชิลๆ อาจเล่นท่านิดหน่อย แต่จักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ทั่วไปไม่เหมาะกับการปั่นชิลๆ เพราะเขาจะเซ็ตรถมาสำหรับการปั่นให้ถี่มากเพื่อจะได้รอบและได้ความเร็ว เพราะเขาจะใช้เกียร์เบาสุดๆ และอาจมีติดกิฟด้านหน้าเพื่อใช้ปีนขอบเล่นท่าผาดโผนได้ และเดี๋ยวนี้คนเล่นบีเอ็มเอ็กซ์ก็หันมาเล่นฟิกเกียร์ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน อย่างการเล่นท่า แทร็กสแตนด์ เป็นการสร้างบาลานซ์ให้เกิดขึ้นระหว่างล้อหน้ากับล้อหลังโดยไม่เอาเท้าแตะพื้น พอเวลาติดไฟแดงเราทำแทร็กสแตนด์ทรงตัวอยู่ พอไฟเขียวปุ๊บ คนที่เล็งเราอยู่ข้างทางเขาก็ตบมือให้กันใหญ่เลย (หัวเราะ) ตอนเริ่มเล่นท่าหัดจากการดูคลิปการเล่นของต่างประเทศ การไม่มีคนสอนจึงจับทริกยาก แต่ตอนนี้เด็กรุ่นใหม่มีกลุ่มเพื่อนสอนมากขึ้นก็เริ่มทำได้ง่าย”
สำหรับคนที่อยากลองเล่น แนะนำให้เข้าไปดูใน www.bkkfixed.net ซึ่งเป็นอีกสังคมหนึ่งของกลุ่มคนเล่นฟิกเกียร์ ภายในเว็บไซต์สามารถศึกษาเกี่ยวกับจักรยานฟิกเกียร์มากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ตัวเองว่าเราชอบแบบไหน และควรซื้อจักรยานอย่างไร แต่ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม บอลยังคงบอกเราเสมอว่า “เสน่ห์ของฟิกเกียร์ ผมว่ามันอยู่ที่การปั่นมากกว่าการที่เราจะเอาไปเล่นท่าผาดโผนกัน”
Bkkfixed ฟิกเกียร์กลุ่มแรกของไทย
บอล-กันตพัฒน์ สิริเกียรติยศ เจ้าของร้าน Sneaka Villa ผู้ก่อตั้ง Bkkfixed ฟิกเกียร์กลุ่มแรกในไทย เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณปี 2007 ผมได้ไปเที่ยวที่ประเทศอเมริกามาประมาณ 1 เดือน และช่วงนั้นฟิกเกียร์ในสหรัฐ
อเมริกาค่อนข้างบูม มันเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาเอ็กซ์ตรีม ส่วนใหญ่เป็นพวกวัยรุ่นตามท้องถนนที่ชอบแต่งตัวสตรีทแฟชั่น เขาหันมาปั่นฟิกเกียร์กันเยอะ หลังจากนั้นเมื่อบอลกลับมาเมืองไทยได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับจักรยานฟิกเกียร์ จึงรู้ว่าคือจักรยานประเภทลู่เหมือนกับที่ใช้ในการแข่งขันปั่นจักรยานทั่วไป แต่มีความแตกต่างกันตรงที่การทดรอบของชุดเกียร์ “ชุดเกียร์จักรยานที่ใช้ในการแข่งทั่วไปจะทดรอบค่อนข้างสูง เมื่อปั่นรอบหนึ่งแล้วแรงมันค่อนข้างเยอะ เมื่อแรงค่อนข้างเยอะเราจะเบรกค่อนข้างยาก แต่สำหรับฟิกเกียร์จะมีการเซ็ตเกียร์ให้เบาลง จึงทำให้เมื่อปั่นรอบหนึ่งรถจึงไปได้ไม่แรงมากเพื่อให้สามารถนำมาปรับใช้บนท้องถนนได้มากกว่า” “ช่วงแรกๆ หาซื้อมาได้ประมาณ 20 กว่าคัน ตอนนั้นจะราคาถูกมาก ประมาณคันละ 10,000 กว่าบาท เราก็ขายต่อเพื่อนๆ ที่มาเล่นด้วยกัน จนเพื่อนมีครบหมดแล้วจึงสร้างคอมมูนิตี้ขึ้นมากับรุ่นพี่อีกสองสามคน และหนึ่งในนั้นก็มีพี่ เจ-มณฑล จิรา ด้วย จึงมีการเริ่มก่อตั้งกลุ่ม Bkkfixedขึ้นมาประมาณปี 2007-2008 เพื่อนัดรวมตัวกันปั่นรอบกรุงเทพฯทุกอาทิตย์ เป็นที่สนุกสนานกัน” “หลักๆ เลยจะมีการรวมตัวกันที่สยามฯ เริ่มปั่นจากที่นั่นแล้วปั่นไปกินข้าวกันที่เยาวราช ปั่นรอบกรุงเก่าไปวนแถวสนามหลวง วัดพระแก้ว และพักเบรกที่ลานพระบรมรูปทรงม้า อาจมีซ้อมเล่นท่าผาดโผนกันนิดหน่อย หรือนั่งคุยชิลๆ กันสักพักจึงปั่นกลับมาที่สยามฯแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน ส่วนใหญ่กลุ่มเราจะไปที่เดิมๆ เราชอบปั่นตรงเมืองเก่าเพราะว่าช่วงนั้นตอนกลางคืนรถจะไม่เยอะ อีกอย่างหนึ่งควันพิษไม่เยอะ และบรรยากาศดี กลุ่มเพื่อนที่ปั่นด้วยกันจะออกแนวติสท์ๆ ศิลปินหน่อย เราปั่นเพื่อออกกำลังกายมากกว่าที่จะปั่นเที่ยวไปในที่อื่นๆ อาจจะนัดปั่นอาทิตย์ละครั้ง สองครั้งแล้วแต่เวลาว่าง” จากนั้นมากระแสฟิกเกียร์ก็เริ่มตื่นตัวในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับมีสถานที่รองรับสำหรับการปั่นจักรยานประเภทลู่ หรือที่เรียกว่าเวลโลโดม ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ที่หัวหมาก กรุงเทพฯ นครราชสีมา และเชียงใหม่ จึงทำให้ผู้ชื่นชอบฟิกเกียร์ในเมืองไทยพยายามหาซื้อจักรยานภายในประเทศ จากที่เคยหาซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับฟิกเกียร์ไม่ได้เลย แต่เดี๋ยวนี้หาง่ายและสะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีขายตามท้องตลาดทั่วไปแล้ว
Fixed Gear มาจากไหน
Fixed Gear คือจักรยานที่ใช้ในการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ใช้แข่งขันในเวลโลโดม เมื่อนักปั่นจักรยานใช้จักรยานไปนานๆ เข้าเกิดชำรุดทรุดโทรมไปบ้างเลยนำไปขาย เมื่อนักปั่นส่งหนังสือพิมพ์ส่งตามบ้านในเมืองนอกเห็น เลยซื้อมาใช้ปั่นทำงานเพื่อส่งหนังสือพิมพ์ พอช่วงเย็นๆ หลังเลิกงาน ก็มีการนัดรวมตัวกันเพื่อฝึกซ้อมทริกท่าต่างๆ ที่ทั้งแปลกและสร้างสรรค์ขึ้น Fixed Gear เป็นจักรยานที่ช่วยเซฟค่าใช้จ่ายได้มาก เนื่องจาก ดูแลรักษาง่าย แข็งแรง ทนทาน ไม่มีปัญหาให้ต้องเอาไปซ่อมอยู่บ่อยๆ จะมีปัญหาที่ต้องเจออย่างเดียวคือคือปัญหายางแตกเท่านั้น หลังจาก Fixed Gear ออกไปโลดแล่นบนถนนจนเตะตาใครหลายๆ คนได้ไม่นาน ก็เกิดการขยายตัวของกลุ่มคนที่หันมาปั่นจักรยาน Fixed Gear กระจายออกสู่เมืองใหญ่มากขึ้น เช่น ที่ซานฟรานซิสโก หรือ ชิคาโก ฯลฯ มีการรวมตัวกลุ่มคนที่ปั่นจักรยาน Fixed Gear ที่ต้องการเล่นทริกท่ามากขึ้น ตามมุมเมืองต่างๆ เพื่อซุ่มซ้อมทริกท่าใหม่ๆ อย่างเข้่มข้นแพร่หลาย
Fixed Gear จักรยาน Extreme ไม่ง้อเบรค
Fixed Gear จักรยานสุดฮิตที่ให้คุณอวดลีลาสุดมันส์บนนถนนแบบไม่ง้อเบรค กำลังเป็นของเล่นสุดมันส์ชิ้นใหม่ที่ได้รับความนิยมของคนรุ่นใหม่ในตอนนี้ มองไปตามถนน คุณอาจได้เห็นคนปั่น Fixed Gear กันบ้างในบ้านเรา ถึงแม้จะไม่มีให้เห็นมากอย่างในต่างประเทศ เช่น อเมริกาหรือญี่ปุ่นก็ตาม แต่หลายพื้นที่ในกรุงเทพก็เริ่มกลายเป็นแหล่งรวมตัวของเหล่านักปั่น Fixed Gear ทีมักรวมตัวกันตอนเย็นย่ำ เพื่อฝึกซ้อมลีลาท่าทางเด็ดๆ กันอย่างเมามันส์ทีเดียว “ฟิกเกียร์” เป็นจักรยานที่ไม่นิยมติดเบรก สำหรับผู้ชื่นชอบการปั่นจักรยานแบบฟรีเท้าไม่ได้ จึงเป็นความท้าทายสำหรับคนหนุ่มสาวนักปั่นน่องเหล็ก ซึ่งเป็นที่นิยม
คลิปฟิกเกียร์ต่างๆ
ประวัติคนดูเเลเว็บ
ประวัติรายปี
1998 |
|
---|
เกี่ยวกับคุณ
คนธรรมดา (: เรียนอยู่ที่ โรงเรียน โพธิสัมพันพิทยาคาร
Mobile Phones |
|
---|---|
ที่อยู่ |
|
อีเมล |
|
Facebook | http://facebook.com/ https://twitter.com/Pok_pattaya |
คำคมที่ชอบ
ความเจ๋งมักซ่อนอยู่ใ นความเกรียนเสมอ:)